มาตราส่วน ชั่ง ตวง ที่สำคัญๆ ในการทำขนม

 

มาตราส่วน ชั่ง ตวง เป็นเรื่องสำคัญมากๆในการทำขนมเลยค่ะ เพราะถ้าชั่ง ตวง วัด ไม่ถูกต้องขนมเราก็อาจจะรสชาดหรือรูปทรงเพี้ยนได้ หรือบางที เราก็ตั้งใจจะชั่ง ตวงให้ถูก แต่ก็จนใจ ด้วยหน่วยของส่วนผสมในสูตรมันช่างเง็งเหลือใจ (ขอยืมคำว่า เง็งเหลือใจ ของคุณพลอย จริยเวช มาใช้นะคะชอบจัง) จะทำยังไงดีน้อ เช่น สูตรคุกกี้ใส่เนย 1 ถ้วย ... เอาสิ เราเคยเจอแต่ เนย 150 กรัม 1 ถ้วยทำไงหล่ะเนี่ย ถ้วยไหน ถ้วยบ้านใคร ถ้วยน้ำจิ้ม หรือถ้วยตวง แล้วถ้วยตวงจะทำยังไง เอาเนยมาหั่นเล็กๆใส่สงไปเหรอ เล็กแค่ไหน โอ้ยยากแท้ 1 ถ้วย เท่ากับกี่กรัม ใครรู้บ้างงงงงงง หรือ บางทีเจอ เค้กชอคโกแลต ใส่ ชอตโกแลต 8 ออนซ์ .... ออนซ์ อะไรเนี่ย เวรละ ออนซ์ไหน ใครจะไปรู้ 1 ออนซ์เท่ากับเท่าไหร่ โอ้ยยยยยยยย
วันนี้เลยสรุป มาตราส่วน ชั่ง ตวง วัด ที่สำคัญในการทำขนมมาให้ค่ะ และมีรายละเอียดพวกการเปรียบเทียบหน่วยให้ด้วย ทีนี้จะได้อ่านสูตรแล้วมาแปลงหน่วยตามอุปกรณ์ ชั่ง ตวง ที่เรามีได้อย่างสบายใจค่ะ

เริ่มกันที่มาตราส่วนเบสิกค่ะ เกี่ยวกับการตวง ทุกคนที่ทำขนมเองน่าจะมีเจ้าอุปกรณ์เบสิกนี้ค่ะ นั่นคือ ช้อนตวง และ ถ้วยตวงของแห้งค่ะ ส่วนใหญ่ก็มาเป็นพวงๆแบบนี้เลยค่ะ มีช้อนตวง และ ถ้วยตวงหลายแบบมาให้เลย เช่น หนึ่งช้อนโต๊ะ, ครึ่งช้อนโต๊ะ, หนึ่งช้อนชา, ครึ่งช้อนชา เป็นต้น ส่วนถ้วยตวงก็จะมาเป็น หนึ่งถ้วยตวง, ครึ่งถ้วยตวง, 1/3ถ้วยตวง เป็นต้น การตวงของแห้งให้ตักส่วนผสมใส่ลงในถ้วย ห้ามอัดนะคะ เดี๋ยวเพี้ยน แล้วก็ใช้ไม้พาย หรืออุปกรณ์ที่เรียบปาดออกให้พอดีถ้วยค่ะ ส่วนการตวงของเหลวเราจะใช้ถ้วยตวงอีกแบบที่มีลักษณะใสๆ ค่ะ วิธีการตวงก็ให้เอาถ้วยวางไว้ที่ที่เป็นระนาบเรียบแล้วรินของเหลวใส่จนถึงขีดที่ระบุค่ะ

ตารางการเปรียบเทียบมาตราส่วน เป็นดังนี้ค่ะ


1 ช้อนชา = 1/3 ช้อนโต๊ะ

1 ช้อนชา = 5 กรัม
1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา

1 ช้อนโต๊ะ = 15 กรัม

1 ช้อนโต๊ะ = 0.5 ออนซ์

2 ช้อนโต๊ะ = 1 / 8 ถ้วยตวง

4 ช้อนโต๊ะ = 1/ 4 ถ้วยตวง

12 ช้อนโต๊ะ = 3/ 4 ถ้วยตวง

16 ช้อนโต๊ะ = 1 ถ้วยตวง
1 ถ้วยตวง = 16 ช้อนโต๊ะ

1 ถ้วยตวง = 240 กรัม

1 ถ้วยตวง = 8 ออนซ์
1 ออนซ์ = 2 ช้อนโต๊ะ

1 ออนซ์ = 30 กรัม (เอาให้เป๊ะๆเลย 1 ออนซ์ = 28.3495 กรัม)

2 ออนซ์ = 1/4 ถ้วยตวง

8 ออนซ์ = 1 ถ้วยตวง = 226.796 กรัม
1 ไพนท์ = 32 ช้อนโต๊ะ

1 ไพนท์ = 480 กรัม

1 ไพนท์ = 2 ถ้วยตวง

1 ไพนท์ = 16 ออนซ์
1 ควอท = 4 ถ้วย

1 แกลลอน = 4 ควอท

1 ปอนด์ = 16 ออนซ์ หรือ 453.59 กรัม

1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์

ทั้งนี้ มาตราส่วนการเปรียบเทียบนี้จะเป็นกลางๆค่ะ ถ้าเป็นการเทียบในส่วนของมาตราส่วนของแข็งด้วยกัน จะแม่นยำตามนี้ เช่น แปลง ช้อนชา เป็น ช้อนโต๊ะ เป็น ถ้วยตวง แต่การแปลงของแห้งที่ตวงด้วยถ้วยตวงไปเป็นกรัมจะมีน้ำหนักไม่เท่ากันค่ะ ขึ้นอยู่กับชนิดของส่วนผสมนั้นๆ เช่น แป้ง 1 ถ้วยตวง เป็นแป้งคนละชนิดกัน ก็หนักไม่เท่ากันแล้วค่ะ เพราะแป้งมีความหนาแน่นไม่เท่ากันค่ะ
แต่ก็มีคนใจดี เรียบเรียงไว้ค่ะ ด้านล่างนี้คัดลอกมาจาก Blog คุณครัวชมพู่ นะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ -> Blog คุณครัวชมพู่


มาตราส่วนสำหรับแป้งสาลี

แป้งขนมปัง (ตราห่าน) 1 ถ้วย = 110 กรัม

แป้งเอนกประสงค์ (ตราว่าว) 1 ถ้วย = 95 กรัม

แป้งเค้ก (ตราพัดโบก) 1 ถ้วย = 90 กรัม

แป้งสาลีชนิดเบาที่สุด (ตราบัวแดง) 1 ถ้วย = 90 กรัม

แป้ง Whole Wheat 1 ถ้วย = 70 กรัม

แป้งข้าวโพด 1 ถ้วย = 100 กรัม


มาตราส่วนสำหรับน้ำตาล

น้ำตาลทราย 1 ถ้วย = 185 กรัม

น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วย = 180 กรัม

น้ำตาลไอซิ่ง 1 ถ้วย = 85 กรัม


มาตราส่วนสำหรับไขมัน

เนยสด (หรือมาการีน) 1 ถ้วย = 200 กรัม

เนยขาว 1 ถ้วย = 185 กรัม

Peanut Butter 1 ถ้วย = 240 กรัม

Pastry Margarine 1 ถ้วย = 200 กรัม

น้ำมันพืช 1 ถ้วย = 200 กรัม


มาตราส่วนสำหรับไข่

ข่ไก่ (ขนาดกลาง) 1 ฟอง = 50 กรัม

ไข่แดง 1 ฟอง = 17 กรัม

ไข่ขาว 1 ฟอง = 33 กรัม

ไข่ไก่เบอร์ 0 4 ฟอง หรือเบอร์ 3 6 ฟอง (ไม่รวมเปลือก) = 1 ถ้วย

ไข่ขาว 8-10 ฟอง = 1 ถ้วย

มาตราส่วนสำหรับนม

นมข้นจืดระเหย 1 ถ้วย = 240 กรัม

นมผงขาดมันเนย 1 ถ้วย = 120 กรัม

ครีมข้น 1 ถ้วย = 225 กรัม

วิปปิ้งครีมสด 1 ถ้วย = 200 กรัม

มาตราส่วนสำหรับสารขึ้นฟู

ยีสต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม

โซดาไบคาร์บอเนต (Baking Soda) 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม

ผงฟู (Baking Powder) 1 ช้อนโต๊ะ = 8 กรัม

ครีมออฟทาร์ทาร์ (Cream of Tartar) 1 ช้อนโต๊ะ = 7 กรัม

แอมโมเนีย 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม


มาตราส่วนอื่นๆ

ผงโกโก้ 1 ถ้วย = 65 กรัม

Chocolate สำเร็จรูป 1 ถ้วย = 200 กรัม

Chocolate สำเร็จรูปสำหรับแต่งหน้า 1 ถ้วย = 120 กรัม น้ำ 1 ถ้วย = 225 กรัม

วานิลา 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม

กาแฟสำเร็จรูป 1 ช้อนโต๊ะ = 2 กรัม

น้ำใบเตยคั้นข้น 1 ช้อนโต๊ะ = 15 กรัม

เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ = 10 กรัม

ข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย = 75 กรัม น้ำผึ้ง 1 ถ้วย = 300 กรัม


ขอแถมเรื่องการแปลงอุณหภูมิจาก องศาเซลเซียส เป็น องศาฟาเรนไฮต์ ด้วยเลย ตามนี้ค่ะ

องศาเซลเซียส = (องศาฟาเรนไฮต์ - 32) / 1.8

องศาฟาเรนไฮต์ = (องศาเซลเซียส x 1.8) + 32


มีตารางเปรียบเทียบองศาที่ใช้บ่อยๆดังนี้ค่ะ

100 C =  212 F

150 C =  302 F

160 C =  320 F

180 C =  356 F

200 C =  392 F

ที่มา : http://www.pg.in.th/blog/view/5408